วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริ

1. โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงานและพื้นที่ข้างเคียง) จังหวัดเชียงราย


           เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีความสนพระทัยที่จะพัฒนาพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียง รายให้เป็นพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดและเป็นโครงการทดลองรูปแบบการพัฒนาเบ็ดเสร็จ เพื่อจะขยายผลการช่วยเหลือ ประชาชน ในพื้นที่ต่าง ๆ เนื่องจากทรงเจริญพระชนมพรรษามาก แล้วการที่จะแปรพระราชฐานไปยังพื้นที่ต่าง ๆคงไม่
สามารถทรงงานเช่นเดิมได้จากพระราชประสงค์ดังกล่าว จึงทรงมีรับสั่งในเรื่องการพัฒนาดอยตุงกับผู้บัญชาการทหาร บกและคณะในการเข้าเฝ้ากราบบังคมทูล ขอถวายรายงานการจัดงาน ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง เมื่อต้นเดือนมกราคม 2530 เพื่อพิจารณาดำเนินการพัฒนาตามความเหมาะสม คณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย ได้แต่งตั้งคณะ ทำงานดำเนินงานในพื้นที่ทรงงาน โครงการพัฒนาดอยตุง ตามคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่
55/2531 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2531 ให้มีหน้าที่พิจารณากำหนดพื้นที่ที่ทรงงานและวาง แผนให้เหมาะสมการดำเนิน งานในพื้นที่ทรงงานได้เริ่มในปลายปีงบประมาณ 2531 เป็นต้นมาต่อมาคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมนี้ได้มอบให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารโครงการฯ คณะทำงานฯ ได้จัดทำแผนงานโครงการมี คณะกรรมการ กปร. ให้การสนับสนุนงบประมาณ 3 ปี คือตั้งแต่ปี 2532-2534

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการพัฒนาพื้นที่ป่าเขาบริเวณ ดอยตุง
จังหวัดเชียงราย ให้เป็นพื้นที่ป่าไม้แหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ มีการใช้ที่ดินป่าไม้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยความร่วมมือในการ ฟื้นฟูสภาพป่าจากราษฎรในพื้นที่ และภาคเอกชนเข้าร่วมกัน

    2. เพื่อหารูปแบบการพัฒนาป่าไม้อย่างเป็นระบบ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปใน อนาคต
    3. เพื่อสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของต้นไม้ให้เกิดขึ้นในจิตใจประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ

    4. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการโดยการควบคุมไฟป่าและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อป้องกันการบุก
รุก ทำลายป่า

2. โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ คือ การเติมอากาศลงในน้ำเสีย มี 2 วิธีวิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟองและอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร

3. โครงการแก้มลิง


       "โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอก คลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืช โครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ  พ.ศ. 2538 อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนักและส่งผลกระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า 2 เดือน คืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณ กรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการกินอาหารของลิง หลังจากที่ลิงเคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้าง แล้วค่อย ๆ ดุน กล้วยมากินในภายหลัง เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน ให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิง สำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลอง สรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป
สำหรับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ
ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ 2 จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่ 3 ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ 4 สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ 5 ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคัน กั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล 267 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ต้อนรับเพื่อนๆ..เปิดเทอมใหม่..1/2554

สวัสดีเพื่อนใหม่ทุกคน
เป็นไงกันบ้าง..แวะมาทักทายกันได้นะค่ะ

ด้วยความคิดถึง..จากบีบี(เพื่อนเธอไง..จำได้ไหม)